วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิค +หัวใจ+ความรัก+เอาใจใส่ +ในการผลิตน้ำมันปาล์ม 2012(ต่อ)

กล่าวถึง การปลูก การจัดเก็บเรียบร้อยแล้ว  เนื้อหาอาจจะไม่ครอบคลุม แต่ผู้เขียนเชื่อว่า ผู้อ่านสามารถ หาข้อมูล จาก ผู้รับซื้อ ปาล์มได้ ทั่วประเทศ นะครับ มาปีนี้ ผมก็เลยจะมาขอ เขียนในเรื่อง การผลิตน้ำมันปาล์ม (โรงงานเลย) นะครับ สำหรับท่านที่คิดการใหญ่

การผลิตน้ำมันปาล์ม
1.ผู้ผลิต จะต้อง ตอบคำถามตัวท่านเองว่า ท่าน ต้องการผลิต น้ำมันปาล์ม เท่าไร (ต้องสัมพันธ์กับปริมาณ ปาล์มในพื้นที่ใกล้เคียง และศักยภาพทางการเงินท่านด้วยนะครับ) เมื่อตอบได้แล้ว ก็ทำการ Design การผลิตออกมาก ดังนี้
                1.1 คุณจำเป็นต้องรู้ ว่า 1 ทะลาย ของปาล์ม ประกอบด้ว  ทะลาย เปล่า กี่ กก.   เม็ดปาล์ม กี่ กก.  น้ำ กี่่ กก. น้ำมัน กี่ กก.  เส้นใย กี่ กก.  กะลา กี่กก. เม็ดในปาล์ม กี่กก. และสุดท้าย น้ำมันเม็ดในกี่ กก. ผู้เขียน ขอ แนะนำ ว่า ท่านควร นำปาล์ม ในพื้นที่ ของท่าน มาทำการหา ข้อมูล องค์ประกอบ เหล่านี้ ไม่ควร นำข้อมุล ของโรงงาน อื่นๆ มาทำ หรือตัดสินใน เพราะ ด้วยสภาพ ของวัตถุดิบ อาจจะต่างกัน จะทำให้ข้อมูล คลาดเคลื่อน  ได้  ผลดีก็จะตกอยุ่ที่ตัวท่านเอง  นะครับ  
                 1.2 เมื่อทราบว่า % ของน้ำมันปาล์มในพื้นที่ ท่านแล้ว  ท่านต้องกลับ มาคิด ตัวเลข ทางการเงิน ว่า  ผลิตปาล์ม ด้วย %  ดังข้างต้น แล้ว ต้องออกแบบ โรงงาน แบบใด (แบบโรงงาน ปาล์มจะขอกล่าว เป็น โอกาสหน้านะครับ) เพื่อให้คุ้มทุนที่ทำการผลิตของท่าน และไม่เบียดเบียน สิ่งแวดล้อม (ช่วงนี้ กม.สิ่งแวดล้อม กำลังมาแรง 555)
                 

พอแค่นี้ก่อนครับ ให้ท่านไปศึกษา ข้อ 1.1 ก่อน แล้วมาทำ 1.2   เมื่อผมว่า ผมจะมาเขียน 1.3 คือ รูปแบบ ของโรงงาน และ กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม ครับ

สวัสดี ครับ


วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิค +หัวใจ+ความรัก+เอาใจใส่ +ในการผลิตน้ำมันปาล์ม (ต่อ)

เมื่อคราวที่แล้ว ผมได้เขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว ว่าผู้ทีจะประกอบอาชีพนี้จะต้องศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ลักษณะปาล์ม
2.ลูกค้า
3.การบริหารพื้นที่
4.การจัดวาง
5.การประยุกต์
6.การอำนวยความสะดวก

7.การเจรจา
8.การยืดหยุ่นและ การพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
9.ทักษะและเทคนิคของ ผู้ที่อยู่ประจำ ลานตรวจรับปาล์ม

อธิบายเลยนะครับ
1. ลักษณะปาล์ม ผู้ทีประกอบอาชีพนี้ จะต้องสังเกตุลักษณะปาล์ม ว่าปาล์มสุก ดิบ อ่อน เน่า เป็นอย่างไร ผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ ที่ผมมั่นใจนักมั่นใจหนา ว่า ส่วนใหญ่ เขาจะ Anti ปาล์ม อ่อน(ดูรูป) "ปาล์มอ่อน" มันอ่่อนตรงไหน












จับดูแข็งเป๊กเลย ? เฉลยครับ สันนิตฐาน ว่าไอ้่ส่วนที่อ่อนมันคือ เนื้อใน หรือ Kernel อ่อน นุ่มเหมือนมะพร้าว ไม่มีน้ำมัน เปลือกสีดำ ที่อยู่ของมันคือลักษณะนี้ต้องอยุ่บนต้นจนกว่า จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง มีน้ำมันมาก ไม่ใช้มาปนอยู่ทีลานของ โรงรับซื้อ เอาไปประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ เสียค่าไฟฟ้าโดย เปล่าประโยชน์ ในทางเทคนิคเราเรียกว่า ประสิทธิภาพในการผลิตน้อย เกิด Loss ในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม ทำให้ต้นทุนสูง น้ำมันไม่ได้ ส่วนอีกลักษณะที่กล้ำกลืนฝืนทน พูดไม่ออก คล้ายๆ กับอาการน้ำท่วมปาก คือ ปาล์มกึ่งดิบกึ่งสุก เออ... แล้วลักษณะมันเป็นอย่าไร ??????????
ก็ง่ายๆ คือ ในทะลายปาล์มมีปาล์มสุกอยู่แค่ชั้นนอก แต่ชั้นในยังไม่สุก ในปาล์ืม 1 ทะลาย ได้ลูกร่วงประมาณ 20 % ที่เหลือเป็นปาล์มดิบ ไอ้สองลักษณะ นี้แหละ หนักใจ ปี 2553 และต้นปี 2554 เกิดเหตุการณ์ น้ำท่วม ภาคใต้ ราคาปาล์มทะลาย พุ่งขึ้นครับ เนื่องจากปาล์มทะลาย ในประเทศมีน้อย จะมีก็คือ ภาคตะวันออก แต่ก็มีน้อย สำหรับคนทั้งประเทศ ครับ ราคาสูง เกิดอะไรขึ้นครับ ....... ปาล์ม อ่อน ทราย น้ำ ขยะ ทุกอย่างที่กล่าวมา ถูกรับซื้อด้วยราคาปาล์มทะลาย ว่าง่าย ๆ ก็คือนำสิ่งเหล่านี้ปน มากับปาล์ม ผลลัพธ์ หรือครับ ประสิทธิภาพ ตกครับ คิดกันง่าย ราคาปาล์ม ทะลาย อยู่ที 10 บาท แต่ประสิทธิภาพ ในการผลิต คือ 14 % (ซึ่งความจริงต้องใด้ 17-18 %) ลองเอา 10 ตั้ง หารด้วย 0.14 ครับ ได้ผลลัพธ์ออกมา คือ 71.428 นั้นคือ ต้นทุนน้ำมัน ปาล์ม ไม่ต้องแปลกใจ ที่ราคาน้ำมันปาล์ม ถีบตัว สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาวัตถุดิบ กลับ ลดลง นั่นเป็นเพราะ มีคนบางกลุ่ม ที่ทำให้ ราคาปาล์มของผู้ปลูก ลดลง เพราะเนื่องจาก มันไม่ไหวจริง น้ำมันปาล์ม มีความต้องการในตลาดมาก แต่ ปริมาณ วัตถุิดิบปาล์มที่จะมาเป็นน้ำมัันปาล์มมีน้อย ทำให้ ราคาผู้่บริโภคสูงขึ้น แต่ราคาผู้ขายวัีตถุดิบ กลับโดนกดลง... เฮ้อ


2. ลูกค้า ลูกค้าที่จะกล่าวมาคือ ผู้ทีส่งวัตถุดิบ ครับ ก็อย่างที่กล่าวไว้ในข้อแรก ลูกค้า มักจะตัดปาล์ม 2 ลักษณะ ที่กล่าวมา นะครับเพราะ 1 ไม่อยากเก็บลูกร่วง 2 ต้องการใช้เงิน ผู้ที่ติดต่อกับลูกค้า ประเภทนี้ ต้องใช้ความสามารถ พิเศษในการโน้มน้าว ในการเปลี่ยนวิธีการตัด ปาล์มจากตัดปาล์ม ดิบ เป็นปาล์มสุก แบบนี้

ปาล์มสุก สีแดงส้ม เล็บจิกมีน้ำมัน นี้้แหละ ถ้าผู้ปลูกปาล์มตัดปาล์มส่ง โรงรับซื้อแบบนี้ คุณคือลูกค้าเกรด A ครับ

3. การบริหารพื้นที่ เมื่อโรงงานที่รับซื้อปาล์ม ปริมาณมาก ส่วนมากจะตกม้าตายก็ตอนนี้ ล่ะครับ ปาล์มที่รับเข้าผลิต ต้อง รู้จักการ FIFO นะ แต่ ไอ้ FIFO นี้ใช้กับปาล์มไม่ได้ตลอด ต้องดูลักษณะปาล์ม ในการตัดสินใจ ผลิตด้วย ตามลำดับ คือ ปาล์มสุก ปาล์ม กึ่งดิบกึ่งสุก ปาล์มเน่า ปาล์มอ่อน แยกออก ไม่มีประโยชนะ

4. การจัดวาง ปาล์มมีลักษณะ คล้ายกับสับปะรด ลองนึกถึงว่ามีกองสับปะรด กองใหญ่ เราจะเอาไปกิน (ผลิต) ต้องวางอย่างไรจึงจะเอาไปกินได้ง่าย ใช้ ของสุกต้ัอง หยิบเข้าปากง่าย ใช่มั้ย ครับ

5.การประยุกต์ อันนี้ต้องเป็นการวิจัยและพัฒนา ในการทำผลผลิตปาล์มให้ได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำเครื่องทุ่นแรง ในการเก็บเกี่ยว เขาเรียก เทคโนโลยีการผลิต

6.การอำนวยความสะดวก อันนี้เป็นกลยุทธในการเรียกลูกค้า เช่นการบริการโหลดปาล์ม ลงจากรถบรรทุกที่ไม่มีดั๊ม หรือแม้กระทั่งการติดต่อลูกค้า จะทำให้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เนื่องจากลูกค้าเกิดความประทับใจ(เจ้าของสวน)

7. 8.9. ทั้งสามข้อ จะไม่ขอบรรยาย แต่ก็เชื่อว่าผุ้ที่อ่านจะสามารถนำ 6 ของที่กล่าวมา ประยุกต์ได้นะครับ ....

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคนิค +หัวใจ+ความรัก+เอาใจใส่ +ในการผลิตน้ำมันปาล์ม

ก่อนอื่นต้อง ขออภัย ผู้ที่พึ่งอ่านบทความ นะครับ จะเห็นว่า ผู้เขียน ลบบางตอนออก เพราะเนื่องจากผู้เขียนไป Coppy เนื้อหา ของ เว็บอื่นโดยไม่ได้ให้ เครดิต เขาไว้ ก็ต้อง ขออภัยเป็นอย่างสูง ในความรู้เท่าไม่ถึงการ นะครับ แต่ไม่ต้องเสียดาย การจะปลูกปาล์มในประเทศไทย นั้น ง่ายยิ่งกว่า ที่คุณคิด เพราะ ถ้าไปแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า ภาครัฐ หรือเอกชน แล้ว เขาก็จะแห่ มาแนะนำและส่งเสริม ให้ท่านที่สนใจปลูก นะครับ แต่ มีอยู่ข้อนึงที่ ผู้เขียน ไปประชาสัมพันธ์ ที่ แปดริ้ว (ปี 2550) คนส่วนใหญ่ เขาจะกลัวว่า ต้นพันธ์เป็น ต้นพันธ์ ย้อมแมว หรือเปล่า หรือมาหลอกขาย ต้นพันธ์ กระผมจะบอกให้ นะคร้บ ว่า ถ้ากลัว ในกรณีที่ผมกล่าวมานี้ ให้ท่าน ไปทำการ สืบดูว่า บริษัทที่ขายปาล์มให้ท่าน นั้น เขามี โรงงาน ผลิตน้ำมันปาล์มหรือเปล่า อันนี้ รับรองได้ว่า ไม่โดนต้มแน่นอน เพราะพวกคนเหล่านี้เขา ต้องการวัตถุดิบปาล์ม ที่ขายให้เรา เพื่อที่จะรับซื้อทะลายปาล์มเขาโรงงาน ของเขาเอง หลักการนี้ใ้ช้ได้ครับ ไม่ต้องกลัว เอาล่ะ เข้าเรื่อง ซะที ในบทความนี้จะมาพูดเทคนิคในการผลิต น้ำมันปาล์ม แน่นอนครับ ไม่หลักสูตร การสอนที่ไหน หรอกครับ สำหรับปาล์ม เ่ท่าที่ผมได้ยินมาก็ มีแต่ อย่างนั่นแหละ ที่มีหลักสูตร การสอนเรื่องยาง แต่ไม่เป็นไร ผู้เขียน /ผม จะมาเล่า ให้ฟัง เอาเรื่องแรก ก่อน นะครับ
ขั้นต้นเรื่องการตรวจรับปาล์มสด เพื่อเตรียมเข้าผลิต ขอบอกว่าไม่หมูนะครับ อย่าพึ่งคิดว่าเป็นเรื่องตลก ขั้นแรก หัดศึกษาลักษณะปาล์ม ต่างที่เรารับซื้อ ตามที่ผู้เ่ขียนได้ เขียนไว้แล้ว ว่า ปาล์มที่คุณภาพดี เป็นลักษณะ อย่างไร (ว่ายาว แน่ๆ อย่าคิดว่าหมูนะ) ฉนั้นผุ้ที่ประกอบอาชีพ ตรงจุดนี้จะต้องรู้เรื่อง ดังนี้
1. ลักษณะปาล์ม
2.ลูกค้า
3.การบริหารพื้นที่
4.การจัดวาง
5.การประยุกต์
6.การอำนวยความสะดวก
7.การเจรจา
8.การยืดหยุ่นและ การพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
9.ทักษะและเทคนิคของ ผู้ที่อยู่ประจำ ลานตรวจรับปาล์ม

พอเดาได้ไหม 9 ข้อ หมายความว่าอย่างไร ไว้ตามต่อนะครับ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปาล์ม กับ ภาคเหนือ (เป็นไปได้ มั้ย หนอ ????)

ต้องขออภัย ที่ไม่ได้ Update มานานมากแล้ว เนื่องจากผู้เขียน ติดปัญหาการโยกย้ายสายงาน แต่เดิมนี้เป็นผู้ช่วยสุ่งเสริมการปลูก ปาล์ม ในภาคตะวันออก แต่ตอนนี้ผู้เขียนเป็นผู้ผลิตแทน ก่อนหน้านั้นผู้เขียนได้ทำการติดตามข่าวคราว ของการปลูกปาล์มในภาค ต่างๆ ของประเทศไทย ก็ส่วนมากก็มีแนวโน้ม ในทางที่ดีๆ แต่ลึกๆ แล้ว ผู้เขียนเอง ลุ้นมากก็คือ ภาคเหนือ และแน่นอน ผู้เขียนเกิดที่เชียงราย ก็อยากจะให้พื้นที่ภาคเหนือ ได้ปลูกปาล์ม แต่ก็อย่าง ว่า นะครับ มันมีปัจจัยที่ทำให้การเปลียนแปลงในการเปลี่ยนพืช เศรษฐกิจ ประจำภูมิภาค จาก ข้าว ข้าวโพด มาเป็นปาล์ม ซึ่ง การเปลี่ยนจากปลูก ข้าว ข้าวโพด มาเป็นปาล์ม ทำได้ช้า และยาก มากๆ ซึ่งไม่เหมือน กับการปลูกยางพารา แต่ข้อจำกัดของยางพารา คือไม่ชอบ ฝน และพื้นที่ ที่มีน้ำมาก ไม่เหมือนปาล์ม แต่มันก็ยังเป็นพืช ตัวใหม่ สำหรับ คนภาคเหนือ และมีข้อจำกัดดัง นี้ (น่าจะนะ มั่วก็ได้ :)
1. ต้องใช้พื้นที่ จำนวนมาก ในการปลูกปาล์ม จึงจะคุ้มต่อการ ปลูก
2. ปริมาณ ข้าวจะลดลง
3. ยังไม่มี โรงงาน หรือจุดรับซื้อ การันตี ในการปลูกปาล์ม
4. กลัวโดนหลอก ในเรื่องต้นกล้าพันธ์ เหมือน กล้าพันธ์ยาง ของกลุ่มผู้แสวงหาผลประโยชน์บางกลุ่ม
แต่อย่างไร ผุ้เขียนก็ขอชมเชย ผู้ที่บุกเบิก ในการปลูกปาล์ม เพื่อสร้างทางเลือก ของการประกอบอาชีพ รวมถึง การทำงานในท้องถิ่น การยกระดับ รายได้ความเป็นอยู่ ของ ประชาชนในภูมิภาคเหนือ เพราะ ในช่วงแรก ที่ บุกเบิก มักจะประสบปัญหา หลายๆ อย่าง ในเรื่อง การลงทุน ความเสียง และการสนับสนุน ของ รัฐและ ประชาชน แต่พวกเขา เหล่านั้นยัง ฝ่าฟัน ให้ Project เรื่องปาล์มในภาคเหนือ มี เค้าโครง ที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ นั่นก็คือ ท่าน วิรุณ คำภิโล ซึ่งข้าพเจ้า ไม่เคย พบหน้าท่าน และท่านก็ไม่รู้จักผม แต่ผมรู้จักท่านทาง เว็บไซต์ เรื่องโรงงาน ผลิตน้ำมัน vgent และติดตามข่าวการลงทุน เืรื่อง โรงงาน สกัดน้ำมันปาล์มที่ เชียงราย มาเป็นเวลานาน ว่าเมื่อไร มันจะมีโรงงาน สกัดน้ำมันปาล์มขึ้นที่ภาคเหนือ ถ้าเป็นจริงคง เท่ห์ ไม่น้อยเลยที่เดียว ที่ว่าเท่ห์ มันเท่ห์อย่างไรหรือครับ อยากรู้มะ ................. คือ
1. By product ของการผลิตปาล์ม
1.1 ซัง ,เหง้าปาล์ม ที่มีแต่หนาม ไม่มีผลปาล์ม เขาเอาไปเพาะเห็ด ฟาง ได้ลูกเห็ดฟาง ที่ใหญ่ อร่อย เท่า กับไข่เลยละ (credit : ตามรูปเลยนะครับ) 1.2.ของเสียที่ออกมาจากการกลั่นเอาน้ำมันปาล์ม ในกระบวนการผลิต แบบ wed process และ dry process
สามารถนำเอาไปทำปุ๋ย ชีวภาพ และอาหารสัตว์ เช่น ปลา วัว หมูได้เป็นต้น
2.น้ำเสียจากการผลิตน้ำมันปาล์ม เมื่อนำเข้าระบบ บำบัด Bio Gas แล้วจะได้ Gas ที่มหาศาล ได้พลังงานไฟฟ้า และพลังงานความร้อนได้ ไอ้ตัวนี้แหละที่ว่าเทห์ เพราะมันเป็นโรงงาน พลังงานทดแทน การใช้ไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค และทำให้ผู้ประกอบการ สามารถขายหน่วยไฟฟ้าให้กับรัฐบาลได้ด้วย เพราะลำพัง แค่สร้างโรงปาล์มเอง มันสามารถปั่นไฟเลี้ยงตัวเองได้ทั้งโรงงาน พอทำิ Bio Gas ปุ๊บมันก็เกิดของเหลือจากการบำบัด ในรูป Gas และ ไฟฟ้า อ่านดูแล้ว เท่ห์ มะ

ก็มันดีอย่างนี้แล้ว จะปลูก ปาล์มอย่างไร ก็ในเมื่อ เป็นคนเหนือ
มันไม่ยากหรอกครับ ณ ตอนนี้ ทางหน่วยงานต่าง ๆ ก็เริ่มหันมาสนใจ พืช ตัวนี้กันบ้างแล้ว ลองเข้า เว็บ Google นี้แหละ และพิมพ์ ว่า "ปลูกปาล์ม" เท่านั้นแหละ คุณจะเห็น หน่วยงานมากมายที่แนะ นำให้เรา ในการปลูก เช่น

http://www.trang.ru.ac.th/LO/lo1.html
www.doae.go.th/plant/palm.htm
www.thaieasterngroup.com

และ อื่นๆ อีกเยอะแยะ ไม่ว่า จะเป็น วาระสาร ต่างๆ หรือแม้กระทั่ง กรมวิชาการเกษตร หรือบริษัทที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพื่อหวังผลตอบแทน คือ ผลปาล์มจากชาวบ้าน ป้อนโรงงาน ฯลฯ

เห็นมั้ยครับ ไม่ยาก ถ้าเราจะทำการปลูก มีคนคอยสนับสนุนทุก ทาง

เอาล่ะผู้เขียนจะไม่บรรยายการปลูก ปาล์มนะครับ เพราะแนะนำ ผู้ให้ความรู้ ไปแล้วตามลิงค์ ไว้ผู้ที่สนใจศึกษา เสร็จแล้ว ผมจะมาเขียนต่อในเรื่องของ คุณภาพ ปาล์มที่จะส่งขาย ไว้เจอกัน ครั้งต่อไปนะครับ





วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เก็บเกี่ยวปาล์มอย่างไรจึงจะมีคุณภาพ(2)

ภาพที่ 2 และ3
ดูให้ชัด ๆ นะครับ ว่านี่คือ "ปาล์มอ่อน" ภาพที่2 จะเป็นปาล์ม ที่แถวๆ ใต้จะเยอะ น่าจะเป็นพันธุ์สุราษฯ ตัวนี้ถ้าคนตาบอดสี จะเห็นเป็นสี ออกส้ม ๆ คล้าย ๆ ขมิ้น ต้องดูเนื้อใน ว่ามีน้ำมันหรือยัง หรือก็ให้ เม็ดปาล์มร่วงออกจากทะลาย ไปบ้าง สัก 3-4 เม็ดแล้วค่อยตัด










ส่วนภาพที่ 4 ดูชัด ๆ นะครับ เป็นพันธุ์ เทเนร่า มีเยอะ บ้านเรานิยมปลูก ลักษณะคือ เปลือกหนา กะลาบาง เนื้อเม็ดปาล์มจะสีดำ ถ้ายังไม่สุก อย่าเสียเวลาตัด นะครับ เพราะถ้่า ปาล์มสุกแล้วน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10 % ของทะลายนะครับ

เก็บเกี่ยวปาล์มอย่างไรจึงจะมีคุณภาพ,ไม่โดนตัดราคา,ไม่โดนตีคืน

เนื่องจาก Blog นี้เป็นการนำเสนอ เส้นทางสู่การผลิตน้ำมันปาล์ม ผู้เขียนจะขอ แจ้งลักษณะ (SPEC)ปาล์มที่จะนำมาทำน้ำมันปาล์ม ,น้ำมันพื้ช ,หรือ ไบโอดีเซล ดูตามรูปนะครับ
รูปที่1 สังเกตุ เนื้อปาล์มจะเป็นสีส้ม ,แดง เมื่อหยิกดูที่เนื้อปาล์มน้ำมันจะติดเล็บ เพราะฉะนั้น ปาล์มที่มีคุณภาพก็จะเป็น และรูปที่ 1ในกรณีที่ต้น มันสูงเกินจะมองเห็น ให้ใช้ไม้ หรือ เสียม ทิ่มดูเนื้อปาล์มก่อน ถ้ามีน้ำมันปาล์มติดมากับ อุปกรณ์ที่ใช้ทิ่มดู แสดงว่า "ปาล์มสุก" นำไปขายได้และจดวันที่ ตัดไว้ด้วยนะครับ เพื่อนำไปคำนวณ รอบในการตัดปาล์ม ครั้งต่อไป ส่วนมาก ก็ 15-20 วัน ถ้าจะให้ดีก็ พอถึงรอบการตัดก็มาตรวจดูว่าปาล์ม สุกหรือยัง ถ้ายังก็ยืดเวลาตัดไปก่อน อย่าใจร้อนนะครับ