วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิค +หัวใจ+ความรัก+เอาใจใส่ +ในการผลิตน้ำมันปาล์ม (ต่อ)

เมื่อคราวที่แล้ว ผมได้เขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว ว่าผู้ทีจะประกอบอาชีพนี้จะต้องศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ลักษณะปาล์ม
2.ลูกค้า
3.การบริหารพื้นที่
4.การจัดวาง
5.การประยุกต์
6.การอำนวยความสะดวก

7.การเจรจา
8.การยืดหยุ่นและ การพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
9.ทักษะและเทคนิคของ ผู้ที่อยู่ประจำ ลานตรวจรับปาล์ม

อธิบายเลยนะครับ
1. ลักษณะปาล์ม ผู้ทีประกอบอาชีพนี้ จะต้องสังเกตุลักษณะปาล์ม ว่าปาล์มสุก ดิบ อ่อน เน่า เป็นอย่างไร ผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ ที่ผมมั่นใจนักมั่นใจหนา ว่า ส่วนใหญ่ เขาจะ Anti ปาล์ม อ่อน(ดูรูป) "ปาล์มอ่อน" มันอ่่อนตรงไหน












จับดูแข็งเป๊กเลย ? เฉลยครับ สันนิตฐาน ว่าไอ้่ส่วนที่อ่อนมันคือ เนื้อใน หรือ Kernel อ่อน นุ่มเหมือนมะพร้าว ไม่มีน้ำมัน เปลือกสีดำ ที่อยู่ของมันคือลักษณะนี้ต้องอยุ่บนต้นจนกว่า จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง มีน้ำมันมาก ไม่ใช้มาปนอยู่ทีลานของ โรงรับซื้อ เอาไปประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ เสียค่าไฟฟ้าโดย เปล่าประโยชน์ ในทางเทคนิคเราเรียกว่า ประสิทธิภาพในการผลิตน้อย เกิด Loss ในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม ทำให้ต้นทุนสูง น้ำมันไม่ได้ ส่วนอีกลักษณะที่กล้ำกลืนฝืนทน พูดไม่ออก คล้ายๆ กับอาการน้ำท่วมปาก คือ ปาล์มกึ่งดิบกึ่งสุก เออ... แล้วลักษณะมันเป็นอย่าไร ??????????
ก็ง่ายๆ คือ ในทะลายปาล์มมีปาล์มสุกอยู่แค่ชั้นนอก แต่ชั้นในยังไม่สุก ในปาล์ืม 1 ทะลาย ได้ลูกร่วงประมาณ 20 % ที่เหลือเป็นปาล์มดิบ ไอ้สองลักษณะ นี้แหละ หนักใจ ปี 2553 และต้นปี 2554 เกิดเหตุการณ์ น้ำท่วม ภาคใต้ ราคาปาล์มทะลาย พุ่งขึ้นครับ เนื่องจากปาล์มทะลาย ในประเทศมีน้อย จะมีก็คือ ภาคตะวันออก แต่ก็มีน้อย สำหรับคนทั้งประเทศ ครับ ราคาสูง เกิดอะไรขึ้นครับ ....... ปาล์ม อ่อน ทราย น้ำ ขยะ ทุกอย่างที่กล่าวมา ถูกรับซื้อด้วยราคาปาล์มทะลาย ว่าง่าย ๆ ก็คือนำสิ่งเหล่านี้ปน มากับปาล์ม ผลลัพธ์ หรือครับ ประสิทธิภาพ ตกครับ คิดกันง่าย ราคาปาล์ม ทะลาย อยู่ที 10 บาท แต่ประสิทธิภาพ ในการผลิต คือ 14 % (ซึ่งความจริงต้องใด้ 17-18 %) ลองเอา 10 ตั้ง หารด้วย 0.14 ครับ ได้ผลลัพธ์ออกมา คือ 71.428 นั้นคือ ต้นทุนน้ำมัน ปาล์ม ไม่ต้องแปลกใจ ที่ราคาน้ำมันปาล์ม ถีบตัว สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาวัตถุดิบ กลับ ลดลง นั่นเป็นเพราะ มีคนบางกลุ่ม ที่ทำให้ ราคาปาล์มของผู้ปลูก ลดลง เพราะเนื่องจาก มันไม่ไหวจริง น้ำมันปาล์ม มีความต้องการในตลาดมาก แต่ ปริมาณ วัตถุิดิบปาล์มที่จะมาเป็นน้ำมัันปาล์มมีน้อย ทำให้ ราคาผู้่บริโภคสูงขึ้น แต่ราคาผู้ขายวัีตถุดิบ กลับโดนกดลง... เฮ้อ


2. ลูกค้า ลูกค้าที่จะกล่าวมาคือ ผู้ทีส่งวัตถุดิบ ครับ ก็อย่างที่กล่าวไว้ในข้อแรก ลูกค้า มักจะตัดปาล์ม 2 ลักษณะ ที่กล่าวมา นะครับเพราะ 1 ไม่อยากเก็บลูกร่วง 2 ต้องการใช้เงิน ผู้ที่ติดต่อกับลูกค้า ประเภทนี้ ต้องใช้ความสามารถ พิเศษในการโน้มน้าว ในการเปลี่ยนวิธีการตัด ปาล์มจากตัดปาล์ม ดิบ เป็นปาล์มสุก แบบนี้

ปาล์มสุก สีแดงส้ม เล็บจิกมีน้ำมัน นี้้แหละ ถ้าผู้ปลูกปาล์มตัดปาล์มส่ง โรงรับซื้อแบบนี้ คุณคือลูกค้าเกรด A ครับ

3. การบริหารพื้นที่ เมื่อโรงงานที่รับซื้อปาล์ม ปริมาณมาก ส่วนมากจะตกม้าตายก็ตอนนี้ ล่ะครับ ปาล์มที่รับเข้าผลิต ต้อง รู้จักการ FIFO นะ แต่ ไอ้ FIFO นี้ใช้กับปาล์มไม่ได้ตลอด ต้องดูลักษณะปาล์ม ในการตัดสินใจ ผลิตด้วย ตามลำดับ คือ ปาล์มสุก ปาล์ม กึ่งดิบกึ่งสุก ปาล์มเน่า ปาล์มอ่อน แยกออก ไม่มีประโยชนะ

4. การจัดวาง ปาล์มมีลักษณะ คล้ายกับสับปะรด ลองนึกถึงว่ามีกองสับปะรด กองใหญ่ เราจะเอาไปกิน (ผลิต) ต้องวางอย่างไรจึงจะเอาไปกินได้ง่าย ใช้ ของสุกต้ัอง หยิบเข้าปากง่าย ใช่มั้ย ครับ

5.การประยุกต์ อันนี้ต้องเป็นการวิจัยและพัฒนา ในการทำผลผลิตปาล์มให้ได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำเครื่องทุ่นแรง ในการเก็บเกี่ยว เขาเรียก เทคโนโลยีการผลิต

6.การอำนวยความสะดวก อันนี้เป็นกลยุทธในการเรียกลูกค้า เช่นการบริการโหลดปาล์ม ลงจากรถบรรทุกที่ไม่มีดั๊ม หรือแม้กระทั่งการติดต่อลูกค้า จะทำให้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เนื่องจากลูกค้าเกิดความประทับใจ(เจ้าของสวน)

7. 8.9. ทั้งสามข้อ จะไม่ขอบรรยาย แต่ก็เชื่อว่าผุ้ที่อ่านจะสามารถนำ 6 ของที่กล่าวมา ประยุกต์ได้นะครับ ....